เกี่ยวกับคณะ
ประวัติคณะเศรษฐศาสตร์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการเปิดสอนนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2507 เป็นต้นมา ซึ่งพัฒนามาจากภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็น คณะเศรษฐศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2535 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายการศึกษาขั้นปริญญาทางการศึกษาออกสู่ภูมิภาคให้สอดคล้องกับ นโยบายของรัฐบาลในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามแผนพัฒนาภาคเหนือ ตลอดจนเป็นแหล่งการวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคม
ECON Strategic 2566
ECON Strategic 2565
วิสัยทัศน์คณะเศรษฐศาสตร์
สถาบันชั้นนำ ที่สร้างองค์ความรู้ เพื่อการมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อย่างยั่งยืน
ค่านิยม
มุ่งมั่น รอบรู้ สู่ความยั่งยืน
วัฒนธรรมองค์กร
ร่วมด้วย ช่วยกัน
อัตลักษณ์บัณฑิต
รอบรู้และสร้างสรรค์ คู่คุณธรรม นำสู่สากล
พันธกิจ
  • การศึกษา : ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ
  • การวิจัย : สร้างงานวิจัยที่เป็นเลิศเพื่อการมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
  • การบริการวิชาการ : เผยแพร่องค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และให้คำปรึกษาแก่สาธารณะเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
สมรรถนะหลัก
  • ความสามารถในการบูรณาการ ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐมิติและการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนกับศาสตร์สาขาวิชาอื่นเพื่อสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการ
  • ความสามารถในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาการกับองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
  • ความสามารถในการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม
เป้าหมายการบรรลุวิสัยทัศน์คณะเศรษฐศาสตร์
  1. ผลการจัดอันดับ QS World University Ranking by Subject ด้าน Economics & Econometrics
    • ปี พ.ศ. 2566 อันดับที่ 451-500
    • ปี พ.ศ. 2568 อันดับที่ 251-300
  2. Socio-economic Impact ของโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่ภาคเหนือ
    • ปี พ.ศ. 2565 มูลค่า 75 ล้านบาท
    • ปี พ.ศ. 2566 มูลค่า 105 ล้านบาท
    • ปี พ.ศ. 2567 มูลค่า 135 ล้านบาท
    • ปี พ.ศ. 2568 มูลค่า 165 ล้านบาท
  3. ผลการประเมินคุณภาพองค์กร
    • ปี พ.ศ. 2564 EdPEx300 (คะแนนมากกว่า 300)
    • ปี พ.ศ. 2566 TQC (คะแนนมากกว่า 350)
    • ปี พ.ศ. 2568 TQC+ : Innovation (คะแนนมากกว่า 450)
  1. ผลการจัดอันดับ QS World University Ranking by Subject ด้าน Economics & Econometrics
    • ปี พ.ศ. 2568 อันดับที่ 251-300
  2. Socio-economic Impact ของโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่ภาคเหนือ
    • ปี พ.ศ. 2565-2568 มูลค่า 165 ล้านบาท
  3. ผลการประเมินคุณภาพองค์กร
    • ปี พ.ศ. 2564 EdPEx300 (คะแนนมากกว่า 300)
    • ปี พ.ศ. 2566 TQC (คะแนนมากกว่า 350)
    • ปี พ.ศ. 2568 TQC+ : Innovation (คะแนนมากกว่า 450)
ยุทธศาสตร์

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
  1. ผลการจัดอันดับ QS World University Ranking เพิ่มขึ้น
    เป้าประสงค์ (Goal)
    • ชื่อเสียงทางวิชาการ (academic reputation)
    • ชื่อเสียงของนายจ้าง (employee reputation)
  2. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน
    เป้าประสงค์ (Goal)
    • ร้อยละของผู้เรียนระดับปริญญาตรีที่สำเร็จการศึกษาตามรอบระยะเวลาหลักสูตร
    • ร้อยละการได้งานทำของบัณฑิตระดับปริญญาตรี
    • ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
    • จำนวนหลักสูตรหรือกระบวนวิชาใหม่ที่มีการบูรณาการหลายศาสตร์

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
  1. พัฒนางานวิจัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) และสร้างชื่อเสียงด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับคณะ
    เป้าประสงค์ (Goal)
    • มูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากโครงการวิจัยด้าน SDG
  2. งานวิจัยมีคุณภาพมากขึ้น มุ่งเน้นผลิตผลงานตีพิมพ์ Q1-Q2 สาขา Economics & Econometrics
    เป้าประสงค์ (Goal)
    • สัดส่วนผลงานตีพิมพ์ Q1 Q2 ต่อผลงานตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ
  3. เพื่อเพิ่มคะแนน QS Ranking ในส่วนงานวิจัย (ยกระดับ QS Ranking สาขา Economics & Econometrics) สร้างการยอมรับในสังคม
    เป้าประสงค์ (Goal)
    • จำนวน Citation/Paper สาขา Economics & Econometrics
    • จำนวน Citation จาก QS Ranking สาขา Economics & Econometrics
    • คะแนน H5 - Index
    • คะแนน H-Index จาก QS Ranking สาขา Economics & Econometrics

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
  1. สร้างมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโครงการบริการวิชาการ
    เป้าประสงค์ (Goal)
    • มูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจทางด้านบริการวิชาการ
  2. สร้างรายได้จาก New Business Model
    เป้าประสงค์ (Goal)
    • จำนวนรายได้

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
  1. สร้างระบบการบริหารจัดการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
    เป้าประสงค์ (Goal)
    • ผลการประเมินคุณภาพองค์กร
  • ยุทธศาสตร์ที่ 1: ด้านการสร้างองค์ความรู้ด้านวิชาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลให้กับประเทศ
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2: ด้านการสร้างองค์ความรู้วิจัยทางเศรษฐศาสตร์เชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3: ด้านบริการวิชาการที่เกิดประโยชน์แก่สังคม
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4: ด้านการบริหารจัดการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5: ด้านการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้มิติใหม่ มุ่งสู่การบรรลุความสำเร็จตามวิสัยทัศน์