หัวข้อ (THAI): การเปรียบเทียบบิทคอยน์และทองคำที่ทำหน้าที่สินทรัพย์ปลอดภัย ต่อสินทรัพย์ด้านการลงทุนในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว และวิกฤตธนาคาร
หัวข้อ (ENG): Comparison of Gold’s and Bitcoin’s Safe-haven Roles Against Financial Asset During The Recession and Banking Crisis
ผู้แต่ง : เจตพันธ์ุ ตรีบำเพ็ญ
ประเภท : Articles
Issue Date: 28-Feb-2025
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษานี้เป็นการทดสอบคุณสมบัติการเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยของสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเฉพาะบิทคอยน์ (Bitcoin) ที่เกิดขึ้นมาจากแนวคิดที่ต้องการเป็นสิ่งที่สะสมมูลค่าสิ่งใหม่ โดยไม่ขึ้นอยู่นโยบายทางการคลัง และการเงินของประเทศใด ประกอบกับเมื่อเกิดสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และความเชื่อมั่นต่อธนาคารตกต่ำในช่วงปี พ.ศ. 2566 เป็นช่วงเวลาที่เกิดความท้าทายต่อระบบเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นต่อระบบการเงินเดิม โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิเป็นอนุกรมเวลาของอัตราผลตอบแทนรายวันข้อมูลราคาปิดรายวันของ 10 สินทรัพย์ ได้แก่ บิทคอยน์ (BTC) ทองคำ (Gold) ดัชนีหุ้นสหรัฐ และหุ้นกลุ่มธนาคาร โดยแบ่งช่วงการศึกษาออกเป็น 2 ช่วงเวลาได้แก่ ช่วงปี พ.ศ. 2565 เป็นช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และช่วงปี พ.ศ. 2566 เป็นช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญต่อความเชื่อมั่นต่อธนาคารตกต่ำ โดยแบบจำลองไวน์คอปูล่า (Vine copula model) ผลการศึกษาพบว่าบิทคอยน์ มีความสัมพันธ์กับทองคำที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงการเกิดสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและความเชื่อมั่นต่อธนาคารตกต่ำ และไม่มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนหรือเป็นอิสระจากตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา และหุ้นกลุ่มธนาคาร แต่บิทคอยน์ไม่แสดงถึงความสามารถด้านการเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงในช่วงตลาดขาลงได้ คำสำคัญ: บิทคอยน์ สินทรัพย์ปลอดภัย ทองคำ สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และแบบจำลองไวน์คอปูล่า (Vine copula model)
Abstract: This study examines the safe-haven properties of digital assets, particularly Bitcoin, by evaluating its potential as a safe-haven asset. Bitcoin, as a digital asset, emerged from the concept of creating a novel store of value that operates independence on any nation's fiscal and monetary policies, diverging from the principles of mainstream economics. The study is set against the backdrop of economic slowdown and diminished confidence in the banking sector during 2023, which posed challenges to traditional financial systems. The research applies the concept of the correlation between Bitcoin and gold as a safe-haven asset to provide evidence supporting Bitcoin's qualification as a safe-haven asset. Secondary data used in this study include daily time-series data of closing prices for ten assets: Bitcoin (BTC), gold, U.S. stock indices, and bank sector stocks. The analysis divides the study period into two phases: (1) 2022, characterized by a global economic slowdown, and (2) 2023, when the global economy faced continued deceleration and eroding confidence in the banking sector. The study employs the Vine Copula model to analyze relationships. The findings reveal that Bitcoin exhibits a relationship with gold, a recognized safe-haven asset, during periods of economic downturn and declining trust in banks. However, Bitcoin shows no significant correlation or independence from U.S. stock markets and bank sector stocks. Furthermore, Bitcoin does not demonstrate the ability to serve as a hedge during bearish markets. A comparative analysis of relationship structures between the two periods indicates that after the onset of the economic slowdown and the banking crisis, Bitcoin began to exhibit a positive, albeit indirect, relationship with safe-haven assets (gold) while maintaining its independence from other studied markets. Keywords: Bitcoin, Safe-haven assets, Gold, Economic downturn and Vine copula model.
บทความ :