ระบบเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

หัวข้อ (THAI): การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจของธุรกิจเรือนแพ จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 (Covid-19) กรณีศึกษาเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อุทยานแห่งชาติศรีลานนา
หัวข้อ (ENG): Economic Impact Analysis of The Houseboat Business Pandemic: COVID-19 A Case Study of Mae Ngat Som Boon Chon Dam in Sri Lanna National Park
ผู้แต่ง : สุพัตรา กระจ่างโฉม
ประเภท : Articles
Issue Date: 31-Jan-2024
บทคัดย่อ (THAI): การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจของธุรกิจเรือนแพในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (2) ผลของมาตรการภาครัฐในการช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจของธุรกิจเรือนแพ ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจเรือนแพในเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จำนวน 10 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึกที่ใช้สัมภาษณ์ผู้ประกอบการโดยตรง และเปรียบเทียบข้อมูลช่วงก่อนการแพร่ระบาด (ปี 2562) และหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 (ปี 2563 ) ธุรกิจเรือนแพของเขื่อนมี 2 รูปแบบ ได้แก่ โฮมสเตย์และร้านอาหาร จากการศึกษาได้ผลการศึกษา ดังนี้ [1] ผลกระทบทางเศรษฐกิจ (1) ด้านรายได้ พบว่า ปี 2562 ร้านอาหารมีรายได้มากกว่าโฮมสเตย์ 1.22% และปี 2563 โฮมสเตย์มีรายได้มากกว่าร้านอาหาร เนื่องจากได้มีการปรับ กลยุทธ์การขาย คือการลดราคาโปรโมชั่นถูกลงกว่าเดิม จากเดิม 1,200 บาทต่อคน เหลือเพียง 1,000 บาทต่อคน (2) ด้านต้นทุน พบว่า ร้านอาหารมีต้นทุนผันแปรมากกว่าโฮมสเตย์ 18.26% เมื่อทำการเปรียบเทียบก่อนและหลังโควิด-19 และ โฮมสเตย์มีต้นทุนคงที่มากกว่าร้านอาหาร 3% (3) ด้านหนี้สิน พบว่า โฮมสเตย์มีหนี้สินจากการกู้ยืมมากกว่าร้านอาหาร 15.71% แหล่งที่มาของการกู้ พบว่า ผู้ประกอบการโฮมสเตย์ 3 ราย และร้านอาหาร 1 รายกู้เงินจากสถาบันการเงินไม่ใช่ของรัฐ เนื่องจากการผ่อนชำระสูงสุด 10 ปี อัตราดอกเบี้ย 2% และได้รับการยกเว้นดอกเบี้ย 6 เดือน ส่วน โฮมสเตย์ 2 ราย ร้านอาหาร4 ราย กู้เงินสถาบันการเงินของรัฐ (4) ผลตอบแทนของธุรกิจ ปี 2562 ร้านอาหารมีผลตอบแทนมากกว่าโฮมสเตย์ 1.48% ปี 2563 โฮมสเตย์ มีผลตอบแทนมากกว่า 6.73% [2] ผลของมาตรการภาครัฐที่ช่วยบรรเทา พบว่า ผู้ประกอบการทุกท่านสามารถเข้าถึง รับรู้และได้รับความช่วยเหลือทั้ง 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อคนไทย มาตรการด้านสินเชื่อ และด้านภาษี คำสำคัญ : ธุรกิจเรือนแพ, ผลกระทบทางเศรษฐกิจ, มาตรการภาครัฐ, โควิด-19 *Corresponding author. E-mail: Supattra.ka0627@gmail.com 1นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคพิเศษ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: The Purpose of this study aimed to [1] Study the economic impact of the houseboat business during the Covid-19 epidemic situation and [2] The government measures to alleviate the economic impact of the houseboat business. An in-depth interview questionnaire was used to interview houseboat entrepreneurs in Mae Ngat Som Boon Chon Dam in Sri Lanna National Park, 10 cases. The data comparisons were based on NPS earnings data for 2019 (before the COVID-19 epidemic situation) and year 2020 (after the epidemic situation of COVID-19) The results showed that [1] the economic impact (1) Income: In 2019, restaurants earned 1.22% more than homestays and in 2020, homestays earned more than restaurants because it has been adjusted sales strategy Is to reduce the promotional price, cheaper than before, from 1,200 baht per person to1,000 baht per person. (2) Cost: Rrestaurants have 18.26% more variable costs than Homestays and Homestays have 3% more fixed costs then Rrestaurants. (3) Debt: The homestay has borrowing debt during the COVID-19 pandemic more than restaurant about 15.71%. (4) Bonus: In 2019 the bonuses of restaurant are higher than homestay about 1.48% and in 2020 homestay are higher than restaurant about 6.73% because Reduce the package price from 1,200 baht per person to 1,000 baht per person, making customers interested in using the service. [2] As a result of government measures to mitigate, it was found that all operators had access to Recognize and receive assistance in all three measures and adapt well to the situation. Keyword: Houseboat business, Economic impact, Government Measures, COVID-19
บทความ :